วันอาทิตย์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

การนำวิดีโอ มาใช้บนบล็อก

เรื่องที่ 4 การนำวิดีโอ มาใช้บนบล็อก
ปัจจุบันการหาแหล่งหรือนำวิดีโอมาใช้งานบนบล็อกสามารถดำเนินการได้ 5 รูปแบบ
1.            Upload : ดำเนินการ Upload จากคอมพิวเตอร์หรือแหล่งเก็บ
2.            Form YouTube : การแทรกไฟล์วิดีโอจาก YouTube ทั่วไป
3.            Form YouTube videos : การแทรกไฟล์วิดีโอจากช่อง YouTube ที่เป็นสมาชิก
4.            Form your phone : การแทรกไฟล์วิดีโอจากโทรศัพท์ Smartphone
5.            Form your webcam : การแทรกไฟล์วิดีโอจากกล้องเว็บแคม


ในที่นี้จะแนะนำเฉพาะ (2) การแทรกไฟล์วิดีโอจาก YouTube ทั่วไป
1. เลือกสร้างรายการบทความใหม่ หรือ จะแก้ไขเพิ่มเติมจากบทความเดิมที่มีอยู่
            ที่ตำแหน่งที่ต้องการวางไฟล์วิดีโอ
2. คลิกเลือกที่รายการ Form YouTube



3. ที่ช่อง Browse เลือกหา หรือนำ links URL รายการวิดีโอที่ได้พิมพ์วางในช่อง คลิกเพื่อนค้นหา

4.ทำการตรวจสอบก่อนการวางโดยทำการคลิกที่กรอบไฟล์วิดีโอ

5.หากถูกต้องคลิกที่ปุ่ม Select (สีฟ้า)
6.ไฟล์วิดีโอที่เลือกก็จะปรากฏในพื้นที่  ที่ท่านต้องการ เสร็จแล้วกดปุ่มบันทึก และเผยแพร่ตามลำดับ


วันเสาร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

การสร้าง Labels (ป้ายกำกับ) กำกับในบทความ

เรื่องที่ 5 การสร้าง Labels (ป้ายกำกับ) กำกับในบทความ
การติดตั้ง Gadget กลุ่ม(หมวด) เนื้อหาให้ Blogger
Blogger ยังเพิ่มเติมคุณลักษณะเฉพาะที่เป็นส่วนติดตั้งพิเศษที่เรียกว่า Gadget เพิ่มเติมต่างๆได้โดยง่าย มากถึง 24 รายการ มีรายการ ดังภาพด้านล่างนี้




      

หนึ่งใน Gadget ที่น่าใช้ของ Blogger ก็คือ กลุ่มเนื้อหา หรือหมวดหมู่ หรือ Categories หากเราเป็นผู้นิยมชมชอบในการสร้างเนื้อหาแล้ว การสร้างหมวดหมู่ นับได้ว่ามีประโยชน์กับนักเขียนเรื่องราวบนบล็อก ที่มีอยู่หลากหลายเรื่อง ซึ่งเมื่อนานวันก็มีเรื่องเพิ่มมากขึ้น สิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นคือสาระเนื้อหา จะกระจัดกระจายไม่เป็นหมวดหมู่ ซึ่ง Blogger มีเครื่องมือสำหรับสร้างหมวดหมู่ หรือ Categories ไว้ให้ ซึ่งการสร้างหมวดหมู่ มีอยู่ 2 ขั้นตอน ดังนี้

1. ขั้นติดตั้ง Gadget
ก่อนอื่นต้องนึกไว้ล่วงหน้าก่อนว่า จะให้ หมวดหมู่ หรือ Categories นี้อยู่ที่ตำแหน่งไหน ในที่นี้สมมุติว่า จะให้อยู่ใต้ รายการบทความ ดังตัวอย่าง


เมื่อกำหนดได้แล้ว มาดูวิธีการดังนี้
1. ไปที่หน้าบล็อกหลัก แล้วดูตรงส่วนควบคุมบล็อก (ซึ่งจะอยู่ด้านซ้ายมือ) คลิกเลือกรายการ ชื่อ Layout (รูปแบบ)


2. จะเกิดผังรายละเอียดแม่แบบของบล็อก เลือก Zone หรือตำแหน่งที่จะวางหมวดหมู่ หรือ Categories
3. ดูที่แถบข้อความ(อักษรสีฟ้า) Add a Gadget (เพิ่ม Gadget) คลิกที่ข้อความดังกล่าว
4. จะเกิดหน้าต่างที่ชื่อ Add a Gadget ที่ชื่อว่า Labels (ป้ายกำกับ)


5. ตั้งค่าป้ายกำกับ ซึ่งใช้ค่าดั้งเดิม ก็น่าจะดีที่สุด สำหรับชื่อสามารถตั้งได้ตามใจชอบ เช่น หมวดหมู่ กลุ่มเนื้อหา หรือ Categories



(ซึ่งตอนนี้แม้ติดตั้งแล้ว แต่ที่แถบเมนูของเราจะยังไม่ปรากฏรายการ)

รายละเอียดในหน้าต่างการปรับแต่ง Labels
จากหน้าต่างด้านบน จะมีส่วนปรับแต่ง อยู่ 4 ส่วน อธิบายอย่างย่อ ดังนี้
1. Title (หัวข้อ) สำหรับตั้งชื่อตามใจชอบ แต่ไม่ควรยาวนัก
2.
Show (แสดง) มี 2 เงื่อนไข คือ
        All Labels               แสดงทุกรายการที่ป้ายกำกับทั้งหมด
                       
Selected Labels        แสดงเฉพาะป้ายกำกับที่เลือก ซึ่งหากคลิกรายการนี้
                                                จะมีส่วนกำหนดค่าการแสดงผลเพิ่มขึ้นมา
3.
Sorting (การเรียง) มี 2 เงื่อนไข คือ
                Alphabetically           เรียงตามลำดับตัวอักษร 
               
By Frequency             เรียงตามลำดับความถีของการเข้าชม

4.
Display (การแสดงผล) มี 2 เงื่อนไขเช่นกัน คือ
                List                                แสดงเป็นรายการ และ               
                Cloud                           แสดงเป็นลำดับขนาดตัวอักษรของหมวดหมู่ตามจำนวนรายการที่มีอยู่
                                           
(2) ขั้นตอนกำหนด Labels (ป้ายกำกับ) กำกับใส่ในบทความ
เป็นขั้นตอนในการกำหนดให้บทความของท่าน เข้ากลุ่มหมวดหมู่  มีวิธีการดังนี้
1. ไปที่หน้าบล็อกหลัก แล้วดูตรงส่วนควบคุมบล็อก (ซึ่งจะอยู่ด้านซ้ายมือ) คลิกเลือกรายการ ชื่อ Post (บทความทั้งหมด)



2. คลิกเลือกบทความที่ต้องการ


3. มาดูทางมุมด้านขวา จะมีส่วนควบคุมที่ชื่อ Post settings (การตั้งค่าโพสต์)
4. คลิกเลือกรายการ
Labels (ป้ายกำกับ) จะเกิดกล่องข้อความ ให้ท่านพิมพ์ข้อความที่จะกำหนดเป็นกลุ่มหมวดหมู่ลงไป (หรืออาจจะเลือกกลุ่มที่ท่านได้กำหนดไว้แล้วก็ได้)
เราสามารถใส่ Labels(ป้ายกำกับ) ให้กับบทความมากกว่า 1 ป้ายกำกับได้ ซึ่งจะคั่นแต่ละป้ายด้วยเครื่องหมายจุลภาค(,)
5. คลิกที่ปุ่ม Done (เสร็จสิ้น) ที่หน้าแรกของบล็อกก็จะแสดงหมวดหมู่ของบทความที่เราตั้งชื่อไว้ในขั้นที่ 4
หมายเหตุ
1. Gadget ที่ชื่อ Labels นี้ท่านสามารถเพิ่มได้มากกว่า 1 ตำแหน่ง
2.หากท่านไม่ต้องการ Gadget ที่สร้างขึ้นนี้ ท่านสามารถเข้าไปยกเลิก โดยคลิกที่ปุ่ม Remove

3. ท่านสามารถเลือกเพิ่มเติมคุณลักษณะเฉพาะหรือ Gadget อื่นๆได้ตามที่ต้องการโดยใช้ขั้นตอนเหมือนการเพิ่มกลุ่มเนื้อหา (Label




การวางภาพประกอบในบล็อก

เรื่องที่ 3 การวางภาพประกอบในบล็อก
ในการดำเนินการสร้างบทความหรือบทเรียนที่ดี โดยปกติจะมีการวางสื่อภาพประกอบเนื้อหา ซึ่ง Blogger สามารถดำเนินการได้โดยง่าย มีวิธีการดังนี้
1.ให้ไปที่ ตรงตำแหน่งบรรทัดที่ต้องการแทรกภาพประกอบ ให้ คลิกที่ปุ่ม แทรกภาพ

 2. เลือกไฟล์ โดยกดที่ปุ่ม Browse ไปที่แหล่งเก็บไฟล์ภาพ (Drive หรือ Folder หรือสื่อเก็บข้อมูลต่างๆ)  สำหรับไฟล์ภาพ ควรเป็น ตระกูล JPG GIF PNG และขนาดของความกว้างไม่เกิน 600 Pixels ดังนั้นควรตกแต่งไฟล์ภาพที่จะ Upload ขึ้น Blog ทั้งหมดให้มีขนาดกว้างไม่เกิน 600 Pixels  นอกจากจะทำให้ไฟล์ภาพมีขนาดพอดีกับหน้าบล็อกแล้ว ยังจะช่วยให้การ Upload ไฟล์รูปภาพ รวมถึงการแสดงผลหน้าเอกสารบล็อก ทำได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

3. เมื่อ Upload ไฟล์ภาพเรียบร้อยแล้ว กดปุ่มเพิ่มรายการที่เลือก ภาพจะปรากฏ แต่จะมีขนาดเล็กสุด  ให้นำเมาล์ไปคลิกที่รูปภาพดังกล่าว จะเกิดเมนูให้เราสามารถเลือกขนาดของภาพ คือ เล็ก / ปานกลาง / ใหญ่ / ใหญ่พิเศษ และ ขนาดเดิม ดังนัันถ้ากำหนดขนาดของภาพไว้ที่ 600 Pixels เมื่อเราเลือกขนาดเดิม จะได้ภาพพอดี  นอกจากนั้น ที่เมนูดังกล่าว ยังสามารถปรับชิดซ้าย ขวา กึ่งกลาง หรือ ลบ รูปภาพออกได้

4. หลังจากตกแต่งขนาด และวางตำแหน่งภาพเรียบร้อยแล้ว ให้กดปุ่มบันทึก และ ปุ่มเผยแพร่ ตามลำดับ


 

ความคิดเห็นจาก Facebook