วันพุธที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

วันอังคารที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

code facebook

code facebook

<div id="fb-root"></div>
<script>(function(d, s, id) {
  var js, fjs = d.getElementsByTagName(s)[0];
  if (d.getElementById(id)) return;
  js = d.createElement(s); js.id = id;
  js.src = "//connect.facebook.net/th_TH/all.js#xfbml=1&appId=162817937165725";
  fjs.parentNode.insertBefore(js, fjs);
}(document, 'script', 'facebook-jssdk'));</script>
<div class="fb-comments" data-href="http://mediath2.blogspot.com/" data-num-posts="20" data-width="650"></div>

นักเรียนเป็นหัวใจของการจัดการศึกษา

                                             นักเรียนเป็นหัวใจของการจัดการศึกษา 

“การศึกษาคือกระบวนการที่ทำให้คนและสังคมเจริญงอกงาม ยิ่งเรียนยิ่งขยัน ยิ่งเรียนยิ่งอดทน ยิ่งเรียนยิ่งซื่อสัตย์ ยิ่งเรียนยิ่งมีความกตัญญู ยิ่งเรียนยิ่งรักปู่ย่าตายาย ดูแลปู่ย่าตายาย ไปไหนก็ดูแลซึ่งกันและกัน บ้านเมืองก็จะมีแต่ความสุข” 

เนื้อหาในส่วนนี้ได้รวบรวมสาระ แนวคิด บทความของท่าน ดร.โกวิท วรพิพัฒน์ ที่เป็นผู้ให้นิยาม คำว่า คิดเป็น"กระบวนการคิดเพื่อตัดสินใจ" โดยใช้ข้อมูล 3 ด้าน คือ ข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลทาง สังคมหรือสิ่งแวดล้อม และข้อมูลทางวิชาการ ปรัชญา "คิดเป็น" มีรายละเอียดและสาระที่น่าศึกษา 

นักเรียนเป็นหัวใจของการจัดการศึกษา 

"เราสอนเด็กให้เป็นนักเรียนดีได้เราก็อิ่มเอิบใจ แต่จริงแล้วเราควรจะอิ่มเอิบใจไปกว่านั้นเหมือนเราปลูกต้นไทรแผ่ร่มเงา วันหนึ่งตอนเที่ยงเราออกไปยืนอยู่ใต้ต้นไทรของเราเพื่อพักร้อน เราก็ชื่นใจที่ร่มเงาของต้นไทรที่เราปลูกสามารถให้คนมาพักอาศัยได้ และคนที่มายืนอยู่ใต้ต้นไทรหรือนกกาคาบลูกไทรไปเป็นต้นไทร แผ่ร่มเงาให้คนได้อาศัยพักร่มเงาอีกต่อไป เหมือนกับเราทำความดี 
มันจะกระเพื่อมออกไปอีกเรื่อยๆไม่มีวันจบสิ้น"

"เยาวชนกำลังมีไฟ กำลังมีแรง กำลังมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ กำลังต้องการจะมีส่วนร่วมในการพัฒนาครอบครัว และบ้านเมืองการให้เรียนแต่วิชาหนังสือ โดยไม่ให้ทำงานเป็นการ บอนไซเยาวชน" 

การสอนที่ดีคือ ... การท้าทายให้เด็กกระเสือกกระสนหาความรู้ ครูไม่จำเป็นต้องเหนื่อยมากเหมือนสมัยก่อน ... ถ้าครูท้าทายเด็ก เช่น ถามว่าต้นไม้นี่มันแพร่พันธุ์ได้กี่วิธี วิธีอะไรบ้าง ทำอย่างไร โดยให้ ไปหาคำตอบ อาจจะไปหาความรู้จากห้องสมุด อาจจะไปทำจริงๆ อาจไปสังเกต ไปสอบถามความรู้ หากเด็กได้พยายามทำจริง ไปขวนขวายหาความรู้ให้ได้มา ความรู้นั้นจะซึมลึกอยู่ในตัว เป็นเลือดเป็นเนื้ออยู่ในตัว 
เราก็เห็นใจครู ... เพราะค่านิยมของสังคมให้สอนวิชาหนังสือ เพื่อสอบเข้ามหาวิทยาลัยให้เรียนต่อได้ การถูกสอนอย่างนี้ทำให้นักเรียนรู้ผิวๆ นำไปใช้จริงได้ยาก"

รูปแบบของการนำเสนอ

รูปแบบของการนำเสนอ

รูปแบบของการนำเสนอในปัจจุบัน พอสรุป โดยภาพรวมจะมี 3 ลักษณะ คือ

1.      มีผู้นำเสนอเป็นหลัก

ประเภทนี้การถ่ายทอดจะอยู่ที่ตัวคนหรือผู้นำเสนอ(พูด)เป็นสำคัญ รูปแบบมักจะเป็นการปาฐกถา การกล่าวเปิดประชุม การบรรยายก่อนการประชุมสัมมนา เป็นต้น ในรูปแบบนี้ อาจจะมีการใช้เอกสารประกอบ(Handout) เป็นส่วนร่วมในการนำเสนอด้วยก็ได้



2.      มีผู้นำเสนอและใช้สื่ออุปกรณ์
ในรูปแบบนี้แม้จะใช้คนเป็นผู้นำเสนอเป็นหลัก แต่มีการผสมผสานด้วยสื่อกลางที่เป็นภาพนิ่งหรือภาพมัลติมีเดียผ่านอุปกรณ์ เครื่องมือ เป็นการนำเสนอที่เพิ่มมุมมอง ความน่าสนใจ นอกจากนี้อาจจะมี เอกสารประกอบการบรรยายหรือการนำเสนอด้วย

3.      นำเสนอในรูปของนิทรรศการ
นำเสนอแบบนี้ตัว Display จะเป็นสื่อหลักในการถ่ายทอดสาระความรู้ หากนิทรรศการมีความต่อเนื่องอาจใช้เส้นนำทาง หรือช่องทางบังคับเป็นส่วนพาผู้ชมได้เรียนรู้เนื้อหาไปตามลำดับ โดยการนำเสนอเช่นนี้อาจจะมี การบรรยายเพิ่มเติมด้วยวิทยากร หรือการให้ข้อมูลผ่านเสียง หรือผ่านการแสดง หรือผ่านสื่อประกอบอื่นๆร่วม อาทิ สื่อเสมือนจริง ของจริง สื่อวิดีทัศน์ หรือเอกสารประกอบ


ความหมายของคำว่า การนำเสนอ



ความหมายของคำว่า การนำเสนอ

การนำเสนอ คือ กระบวนการ วิธีการ เพื่อให้รู้ ให้ทราบ ให้เข้าใจ ในกิจกรรมขององค์กร ของสถาบัน ของหน่วยงาน ได้อย่างชัดเจน

การนำเสนอ คือ การถ่ายทอดเนื้อหา สาระที่ผสมผสานกันระหว่าง ศิลปะการพูด กับ การแสดงข้อมูล ในรูปแบบต่างๆ ผ่านสื่อและอุปกรณ์ได้อย่างเหมาะสม



ลักษณะหรือประเภทการนำเสนอ

เป็นที่ทราบกันดีว่ามนุษย์สามารถรับรู้สาระ เรื่องราวได้ดีที่สุดผ่านระบบประสาททางตา (75%) รองลงมาก็คือทางการได้ยินผ่านหู (13%) แต่คนเราจะจำได้เพียง 20ของสิ่งที่ได้เห็น และจำเพียง 30ของสิ่งที่ได้ยิน แต่ถ้าหากตั้งใจรับทั้งการได้ยินและประทับใจสิ่งที่ได้เห็น มนุษย์จะจำได้สูงถึง 70เลยทีเดียว ดังนั้น หากเราสามารถสร้างสรรกระบวนการนำเสนอที่ดี ผ่านการรับรู้ด้วยตาและหู (Audio & Visual) ก็ถือเป็นกระบวนการการถ่ายทอดหรือการสื่อสารผ่านพลังของการนำเสนอที่มีประสิทธิภาพ

ข้อมูล สนง.กศน.จังหวัดอุตรดิตถ์



ประวัติของ สำนักงาน กศน.จังหวัดอุตรดิตถ์

1.  สภาพทั่วไปของสำนักงาน กศน.จังหวัดอุตรดิตถ์
     ที่ตั้ง เลขที่ 125 หมู่ที่ 3 ตำบลป่าเซ่า  อำเภอเมืองอุตรดิตถ์  จังหวัดอุตรดิตถ์  รหัสไปรษณีย์  53000
โทรศัพท์ 055 817729  โทรสาร 055 817729

          เดิมสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นโรงเรียนผู้ใหญ่เคลื่อนที่  29,30,31  ต่อมาในปี พ.ศ. 2516  หน่วยฝึกฝนอาชีพเคลื่อนที่  17  ได้ย้ายมาจากจังหวัดสุโขทัยในปี พ.ศ. 2517  จึงเปลี่ยนเป็นโรงเรียนฝึกฝนอาชีพเคลื่อนที่  ต่อมาในปี พ.ศ. 2519  ได้ย้ายโรงเรียนฝึกฝนอาชีพเคลื่อนที่ไปอยู่ที่จังหวัดสุโขทัย  จึงได้จัดตั้งเป็นศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดอุตรดิตถ์  ตามประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ  เมื่อวันที่  13  มิถุนายน  2525  โดยมีสำนักงานชั่วคราวตั้งอยู่ที่ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุตรดิตถ์  เพื่อดำเนินการจัดการศึกษานอกโรงเรียนทุกรูปแบบในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์  ต่อมาในเดือนเมษายน  2527  ได้ย้ายมาตั้งอยู่ที่อาคารถาวร  เลขที่  125  หมู่ที่  3  ตำบลป่าเซ่า  อำเภอเมืองอุตรดิตถ์  จังหวัดอุตรดิตถ์    มีพื้นที่ประมาณ  50  ไร่  และปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อเป็นสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดอุตรดิตถ์  ตามพระราชบัญญัติการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยพุทธศักราช 2551

วิสัยทัศน์

กศน.อุตรดิตถ์  ส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต  ร่วมสร้างสังคมแห่งกเรียนรู้
มุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

พันธกิจ

1. จัดและส่งเสริมการศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย และส่งเสริมการศึกษาในระบบให้มีคุณภาพ
2. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
3. ส่งเสริมชุมชนให้พัฒนากระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
4. พัฒนาและส่งเสริมการนำเทคโนโลยีเพื่อการศึกษามาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพต่อการศึกษาตลอดชีวิต
5. พัฒนาบุคลากรและภาคีเครือข่ายเพื่อการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย


จำนวนบุคลากรของสำนักงาน กศน.จังหวัดอุตรดิตถ์
1.   ผู้อำนวยการ สำนักงาน กศน.จังหวัด                              จำนวน  1  คน
1.      รองผู้อำนวยการ สำนักงาน กศน.จังหวัด                        จำนวน  1  คน
2.      ผู้อำนวยการสถานศึกษาอำเภอ 9 อำเภอ                       จำนวน  9  คน
3.      ข้าราชการครู                                                     จำนวน  8  คน 
4.      บรรณารักษ์                                                       จำนวน  5  คน
5.      ลูกจ้างประจำ                                                    จำนวน  14  คน
6.      ลูกจ้างชั่วคราว                                                   จำนวน  135 คน
                   
     แยกเป็น
·       พนักงานราชการ                                  จำนวน  30  คน
·       ครู กศน.ตำบล                                     จำนวน  86  คน
·       บรรณารักษ์ (จ้างเหมาบริการ)             จำนวน  6  คน
·       จ้างเหมาบริการ                                    จำนวน  13  คน
รวมบุคลากรทั้งสิ้น               จำนวน 173 คน

โครงสร้างและบุคลากร
ในปีงบประมาณ พ.ศ.2556  สำนักงาน กศน.จังหวัดอุตรดิตถ์ ได้รับผิดชอบการดำเนินงานการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในจังหวัดอุตรดิตถ์  โดยมีโครงสร้างการบริหารงาน 

ภารกิจ บทบาท หน้าที่
สำนักงาน กศน.จังหวัดอุตรดิตถ์  เป็นหน่วยงานทางการศึกษาส่วนกลางที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาค  มีสถานศึกษาในสังกัด 9 แห่ง มีบทบาทและอำนาจหน้าที่ตามที่สำนักงาน กศน.กำหนด ดังนี้ 

1. เป็นหน่วยงานธุรการของคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัด
2.       จัดทำยุทธศาสตร์ เป้าหมายและแผนพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในจังหวัด ให้สอดคล้องกับนโยบาย มาตรฐานการศึกษา แผนการศึกษาชาติ แผนพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
3.       ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และรวบรวมข้อมูลสารสนเทศ ด้านการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
4.       วิเคราะห์ จัดตั้ง จัดสรร เงินงบประมาณให้แก่สถานศึกษาและภาคีเครือข่ายที่จัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
5.       ประสาน ส่งเสริม สนับสนุน การจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของสถานศึกษาและภาคีเครือข่าย
6.       จัดระบบประกันคุณภาพการศึกษานอกระบบตามที่กฎหมายกำหนด
7.       ส่งเสริม สนับสนุนการเทียบโอนผลการเรียน การเทียบโอนความรู้และประสบการณ์และการเทียบระดับการศึกษา
8.       ส่งเสริมและพัฒนาหลักสูตร สื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาร่วมกับสถานศึกษาและภาคีเครือข่าย
9.       ระดมทรัพยากรด้านต่าง ๆ รวมทั้งทรัพยากรบุคคล เพื่อการมีส่วนร่วมในการส่งเสริม สนับสนุนการจัดและพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
10.   ส่งเสริม สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
11.   พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยและภาคีเครือข่าย
12.   ส่งเสริม สนับสนุน ติดตามและรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
13.   งานนโยบายพิเศษของรัฐบาลและงานเสริมสร้างความมั่นคงของชาติ
14.   กำกับ ดูแล นิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของสถานศึกษาและภาคีเครือข่าย
15.   ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย


โครงสร้างการบริหารงานนิเทศของสำนักงาน กศน.จังหวัด

สำนักงาน กศน.จังหวัดอุตรดิตถ์  ได้จัดทำคำสั่งมอบหมายงานตามโครงสร้างของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัด  ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พุทธศักราช 2551 ทั้ง  7 กลุ่มงาน  ตามบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังนี้  คือ
1.       กลุ่มอำนวยการ
2.       กลุ่มยุทธศาสตร์และการพัฒนา
3.       กลุ่มส่งเสริมการศึกษานอกระบบ
4.       กลุ่มส่งเสริมการศึกษาตามอัธยาศัย
5.       กลุ่มส่งเสริมภาคีเครือข่ายและกิจการพิเศษ
6.       กลุ่มนิเทศ  ติดตาม  และประเมินผลการจัดการศึกษา
7.       กลุ่มตรวจสอบภายใน                                                 

 1.1 โครงสร้างการบริหารงานนิเทศของสำนักงาน กศน.จังหวัด

สำนักงาน กศน.จังหวัดอุตรดิตถ์  ได้จัดทำคำสั่งมอบหมายงานตามโครงสร้างของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัด  ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พุทธศักราช 2551 ทั้ง  7 กลุ่มงาน  ตามบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังนี้  คือ
8.       กลุ่มอำนวยการ
9.       กลุ่มยุทธศาสตร์และการพัฒนา
10.   กลุ่มส่งเสริมการศึกษานอกระบบ
11.   กลุ่มส่งเสริมการศึกษาตามอัธยาศัย
12.   กลุ่มส่งเสริมภาคีเครือข่ายและกิจการพิเศษ
13.   กลุ่มนิเทศ  ติดตาม  และประเมินผลการจัดการศึกษา
14.   กลุ่มตรวจสอบภายใน                                                


วันศุกร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ลักษณะสำคัญและประโยชน์ของบล็อก


เรื่องที่ 2 ลักษณะสำคัญและประโยชน์ของบล็อก
ลักษณะสำคัญของบล็อก
1. แสดงเนื้อหาเป็นชุด ๆ และแต่ละชุดมีวันที่ ที่บันทึกเนื้อหากำกับไว้อย่างชัดเจน
2. เรียงลำดับเนื้อหาตามวันที่ โดยข้อความใหม่ล่าสุดที่บันทึกเข้าไป จะถูกแสดงอยู่ด้านบนสุดของหน้าเว็บไซต์ ส่วนข้อความที่บันทึกเข้าไปก่อนหน้านั้น จะอยู่ถัดลงไปเรื่อย ๆ
3. มีการสะสมชุดเนื้อหาย้อนหลัง ผู้อ่านสามารถค้นหาตามวันเวลา (archive) หรือค้นหาจากคำสำคัญ (tag) ได้
4. อาจอนุญาตให้ผู้อ่านสามารถแสดงความคิดเห็น (comment) ที่มีต่อเนื้อหาได้
5. อาจมีการจัดหมวดหมู่ของเนื้อหาออกเป็นกลุ่ม ๆ (category) เช่น บล็อกหนึ่ง ๆอาจไม่ได้มีเนื้อหาเพียงเรื่องเดียว เพราะเจ้าของบล็อกมีความสนใจในหลาย ๆ เรื่อง เพื่อให้สะดวกในการอ่าน จึงทำการแยกเป็นหลายหมวดหมู่ไว้ ตัวอย่างเช่น บันทึกประจำวัน, แนะนำเว็บ, วิเคราะห์ข่าว, วิจารณ์ภาพยนตร์ เป็นต้น
6. อาจมี RSS Feed เพื่อให้สะดวกในการติดตามการอัพเดทข้อมูลของบล็อกนั้น ๆและเพื่อความสะดวกในการอ่านบล็อกโดยที่ไม่ต้องเข้ามาอ่านที่บล็อกจริง ๆ

ประโยชน์ของบล็อก
ประโยชน์ของบล็อกมีมากมายหลายประการ อันได้แก่
1.เป็นสื่อโฆษณา ประชาสัมพันธ์
ถือได้ว่าบล็อกเป็นเว็บที่เจาะกลุ่มเป้าหมายของผู้คนที่ใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นหลัก การวางกลยุทธ์การตลาดในแวดวงธุรกิจไม่อาจพึ่งพาแค่ แผ่นพับ ใบปลิว หรือการลงโฆษณาตามหนังสือพิมพ์ การโฆษณาผ่านวิทยุ โทรทัศน์ ซึ่งช่องทางที่กล่าวนับวันยิ่งมีค่าใช้จ่ายในการประชาสัมพันธ์สูง การใช้บล็อกเพื่อประชาสัมพันธ์ จึงเป็นอีกวิธีการที่มีค่าการลงทุนที่ต่ำ แต่สามารถส่งผลทางการตลาดที่สูงขึ้นได้ นอกจากนี้ในภาครัฐมีหลายแห่งที่ใช้บล็อกเป็นเครื่องมือ ช่องทางในการเผยแพร่ข่าวสารของหน่วยงานอีกทางหนึ่งด้วย
2. เป็นแหล่งให้ข้อมูลความรู้ เฉพาะเรื่อง
ปัจจุบันข่าวสารต่าง ๆ รวมถึงเทคโนโลยี มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก จนหนังสือหรือสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ล้าสมัย หรือไม่สามารถออกได้ทันตามความต้องการของผู้ที่สนใจ การใช้บล็อกเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการให้ข้อมูล ถือเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะว่าการสร้างบล็อก ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก และสามารถเขียนหรือปรับปรุงแก้ไขข้อความที่เขียนได้อย่างรวดเร็วง่ายดาย จึงมีผู้ที่มีความรู้หลายต่อหลายท่านใช้บล็อกเป็นที่เผยแพร่ความรู้ เช่น
 http://www.blognone.com/ (บล็อกที่นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ 
 http://www.oknation.net/blog/black (บล็อกวิเคราะห์ข่าวของคุณสุทธิชัย หยุ่น)
3. เป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนความคิดเห็น
ปัจจุบันบล็อกถือเป็นช่องทางที่ใช้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้อีกทางหนึ่ง เพราะบล็อกส่วนใหญ่ มักจะอนุญาตให้ผู้อ่านแสดงความคิดเห็นของตนที่มีต่อข้อความในบล็อกนั้น ๆ ได้ ซึ่งอาจจะเป็นการให้คำแนะนำ หรือจะเป็นการแสดงความเห็นด้วย/ไม่เห็นด้วยกับข้อความในบล็อกนั้น ๆ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้เขียนบล็อกและผู้อ่านบล็อกสามารถทำให้เกิดเป็นสังคมย่อย ๆ ขึ้นมา
4. เป็นเวทีการเรียนรู้
นอกจากจะเป็นแหล่งข้อมูลเฉพาะเรื่องแล้ว สถานศึกษา หรือครู และบุคลากรทางการศึกษา ยังใช้บล็อก เป็นอีกกลไก หรือเครื่องมือในการเผยแพร่ความรู้เนื้อหา เพิ่มเติมจากหลักสูตร หรือเป้นเวทีสำหรับให้ลูกศิษย์เข้ามาแสดงความคิดเห็น หรือตอบคำถามต่างๆ
ในโลกของสังคมข่าวสารปัจจุบัน บล็อก เป็นอีกปัจจัยสำคัญของ Social network ที่มีอิทธิพลต่อวงการธุรกิจ วงการข่าวสาร ประชาสัมพันธ์ หรือแม้กระทั่งแวดวงการศึกษา จะเห็นได้ว่าอัตราการเจริญเติบโตของบล็อกประเภทต่างๆไม่ว่าจะเป็นบล็อกส่วนตัว ไปจนถึงบล็อกขององค์กร/ธุรกิจ จะมีอัตราที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ถือได้ว่าเป็นการเกิดของ สังคมแห่งการแบ่งปัน ที่มีทั้งผู้ต้องการสาระเนื้อหา ผู้ที่เผยแพร่เนื้อหา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวหลากหลายประเภทหรือหลากหลายมุมมอง หรือชื่นชมผลงานส่วนตัวไม่ว่าจะเป็นประสบการณ์ชีวิตต่างๆ ผลงานรูปภาพ งานกราฟิก งานมัลติมีเดียต่างๆ ไปจนถึงบล็อกขององค์กร / ธุรกิจ ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อการโฆษณา ประชาสัมพันธ์



 

ความคิดเห็นจาก Facebook